ความหมายของการศึกษาภาคบังคับ คืออะไร

“การศึกษาคือหนทางสู่ความสำเร็จ” เชื่อว่าหลายคน คงเคยได้ยินประโยคที่ว่านี้กันมาบ้าง ซึ่งก็เป็นที่รู้กันว่าแทบทุกคนต้องได้รับการศึกษามาตั้งแต่เด็ก หรือที่เรียกว่าการศึกษาภาคบังคับ แล้วทุกคนเคยนึกสงสัยบ้างหรือไม่ว่าการศึกษาภาคบังคับคืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร ทำไมเมื่ออายุถึงเกณฑ์ที่ต้องเข้าเรียนแล้วต้องเรียนด้วย บทความนี้จะพาทุกท่านไปคลายความสงสัยนี้กัน

การศึกษาภาคบังคับจริงๆ แล้วเป็นกฏหมายที่กำหนดให้ผู้ที่มีอายุถึงเกณฑ์อย่างเด็กและเยาวชนในประเทศต่างๆ จำเป็นต้องได้เข้ารับการเรียนการศึกษาในขั้นต่ำตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล (ในเด็กที่มีอายุครบ 4 ปี) ระดับชั้นประถมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษา จนถึงระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งทางหน่วยงานรัฐบาลนั้นๆ ต้องจัดให้มีสถานศึกษาที่ให้ประชาชนได้เลือกเองว่าจะเรียนที่ไหน หรือส่งลูกส่งหลานเข้าเรียนที่ไหน ใกล้บ้าน ไกลบ้าน ทั้งนี้บางประเทศก็อนุญาตให้การศึกษาที่บ้านเป็นภาคบังคับอย่างถูกตามกฎหมายด้วยเช่นกัน

Compulsory-education-pic

ประเทศไทย กับการศึกษาภาคบังคับ

ตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ค.ศ. 1948 กำหนดการศึกษาภาคบังคับให้กับโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งการศึกษาต่ำสุดที่เด็กหรือเยาวชนควรจะได้รับตามบัญญัติกฎหมาย คือ ระดับชั้นประถมศึกษาที่กำหนดให้ถึงเพียงแค่ชั้นประถามศึกษาปีที่ 6 นั่นเอง แต่ด้วยความห่วงใยอยากให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดูแลตัวเอง ครอบครัว ตลอดจนเป็นผู้ที่ดีมีคุณภาพในสังคม การมีการศึกษาภาคบังคับเพียงแค่ประถมศึกษาปีที่ 6 เรียกได้ว่าต่ำมากๆ ยากที่จะคิด วิเคราะห์ แยกแยะอย่างมีเหตุผล รวมถึงความสามารถในการอ่าน – เขียน การสื่อสารกับผู้อื่น จึงพยายามจะผลักดันให้การศึกษาภาคบังคับสูงขึ้นจนถึงระดับมัธยมศึกษา

การศึกษาภาคบังคับมีประโยชน์อย่างมาก

แน่นอนว่าการที่เด็กหรือเยาชนได้รับการศึกษาภาคบังคับตามเกณฑ์ จะช่วยให้เด็ก หรือเยาชนรู้ถึงความชอบ ความถนัดของตนเอง จนนำไปสู่การประกอบอาชีพที่ถูกจุด ถือว่าเป็นการแนะนำอาชีพให้เด็ก หรือเยาวชนรู้ตัวตั้งแต่เนิ่นๆ และอีกประโยชน์หนึ่ง คือ ช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในสังคมได้ เช่น เด็กเกเร เด็กอันธพาลตามซอย ตามท้องถนน ที่จะไม่มีเวลาว่างมาคิดเรื่องฟุ้งซ่านแบบนี้ เพราะต้องเอาเวลาไปเล่าเรียน ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ประโยชน์ทั้งแก่ตัวเด็กเอง ครอบครัว และประเทศชาติ

อย่างไรก็ดีการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทยนอกจากจะให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนแล้ว ก็ควรจะให้กับครอบครัวของเด็กหรือเยาวชนคนนั้นๆ ได้พิจารณา ตัดสินใจถึงการศึกษาของลูกหลานว่าเหมาะสมจะเข้าเรียนเมื่ออายุเท่าไร เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาสำหรับบางครอบครัวที่สถานะการเงิน ณ ขณะนั้นอาจจะยังไม่คล่องตัว แต่ลูกหลานมีอายุถึงเกณฑ์ต้องเขาเรียนแล้ว