“มอบปลาให้ผู้ชายคนหนึ่งเขาจะมีกินเพียงวันเดียว แต่หากสอนให้เขาตกปลาเขาจะมีกินตลอดชีวิต” นี่คือคำกล่าวของนักปรัชญาและนักเขียนชาวจีนผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เพื่อชี้ให้เห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญเพียงไหน ในปัจจุบันนี้มีนักเรียนมากกว่าที่เคยมีมาในอดีต ตัวอย่างเช่นในปี 1950 ระดับการศึกษาโดยเฉลี่ยในแอฟริกานั้นน้อยกว่าสองปีตอนนี้ค่าเฉลี่ยนอยู่ที่ 5 ปี ในประเทสแถบเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกการศึกษาของประชากรเพิ่มขึ้นจากสองถึงเจ็ดปีระหว่างปี 1950 และ 2010 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 200 เปอร์เซ็นต์
ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ในขณะที่หลายประเทศเริ่มพลักดันนโยบายการศึกษามากมาย ทำให้ปีการศึกษาโดยเฉลี่ยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ปีภายในปี 2050 นี่คือการเพิ่มขึ้นมากกว่าห้าเท่าภายในหนึ่งศตวรรษครึ่ง อย่างไรก็ตามนั้นยังมีเด็กกว่า 124 ล้านคนที่ไม่ได้เข้าโรงเรียน นอกจากนี้เด็กนักเรียนกว่า 250 ล้านคนไม่สามารถอ่านได้แม้หลังจากเรียนหนังสือไปหลายปี นี่คือ 3 สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับบทบาทสำคัญของการศึกษาในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
1.การศึกษาคือการลงทุน
ความรู้เป็นอำนาจที่ทรงพลังของมนุษย์มากที่สุดนับตั้งแต่การมีอยู่ของพวกเรา โดยเพลโตกล่าวเอาไว้ว่า “หากมนุษย์ละทิ้งการเรียนรู้, เขาก็จะโง่เขลาไปตลอดจนชั่วชีวิต” นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบลที่มองเห็นการศึกษาเป็นเรื่องการลงทุน T.W. Schultz และ Gary Becker ได้เป็นผู้ที่สร้างทฤษฎี Human Capital Theory ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในการศึกษามอบผลกำไรตอบแทนมหาศาล
2.ทักษะที่ต้องการโดยตลาดแรงงาน
หนึ่งในเหตุผลสำคัญของทุกประเทศ นั่นก็คือการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างแรงงานคุณภาพให้กับประเทศ เมื่อตลาดแรงงานปรับตัวเป็นระบบอัตโนมัติ การศึกษายิ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะแค่การใช้แรงงานอาจไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้เหมือนในอดีต หุ่นยนต์อัตโนมัติกำลังจะเข้ามาแทนแรงงานส่วนใหญ่ของมนุษย์ จะมีคนที่ต้องตกงานหลายล้านคนทั่วโลก สิ่งที่ทำให้เราได้เปรียบคือการศึกษาขั้นสูงที่ไม่สามารถหาใครมาแทนที่ได้
3.ส่งเสริมการแข่งขันในประเทศ
เพื่อส่งเสริมความสำเร็จในตลาดแรงงานในปัจจุบัน เราต้องลงทุนแต่เนิ่นๆ ในทักษะที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทักษะในการแก้ไข้ปัญหา (Problem-solving skills), ทักษะในการเรียนรู้ (Learning Skills), ทักษะด้านการสื่อสาร (Communication skills), ความสามารถพิเศษ (Personal skills) สุดท้ายคือทักษะในการเข้าสังคม (Social skills) โดยเน้นการส่งเสริมแนวคิดที่มีประโยชน์ทั้งสามคือ อิสรภาพทางความคิด (Autonomy), ความรับผิดชอบ (Accountability), การประเมินตนเอง (Assessment) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ครูมีหน้าที่ปลูกฝังนักเรียนตั้งแต่ปฐมวัย รวมถึงเผยแพร่ผ่านช่องทางด้านวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพของประชากรให้มีนินัยใจการใช้ชีวิต เป็นคนดีของสังคม มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง