เมื่อพูดถึง ‘การศึกษา’หลายๆมักจะนึกถึงห้องเรียน , ปากกา , ข้อสอบวัดมาตรฐาน , การเรียนอย่างหนักหน่วง แต่แท้แล้วการเรียนรู้ไม่ควรถูกจำกัด จากเครื่องแบบ , เพศ , ฐานะทางการเงิน , วัย เพียงเท่านั้น เพราะมนุษย์ในปัจจุบันนี้สามารถเรียนรู้ได้แม้กระทั่งนอกโรงเรียน เพียงแต่ต้องมีวิธีการวางแผนที่ดีทั้งของตัวเองจากภาครัฐร่วมมือกัน
เริ่มจากพ่อ – แม่
ในสังคมสมัยนี้เป็นสังคมเปิดกว้างมากขึ้น อาชีพเก่าๆบางอาชีพก็ล้มหายไป ในขณะเดียวกัน ก็มีอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นมาแทนที่ จึงทำให้การจำกัดในเรื่องของอาชีพที่เด็กต้องการเลือกนั้นไม่ควรมีอีกต่อไป โดยบทบาทของพ่อกับแม่นั้น มีมากกว่าแค่การทำงานหาเงินมาเลี้ยงลูก แทนที่จะพึ่งอาจารย์เพียงอย่างเดียว ตัวพ่อแม่นี่แหละ ที่สามารถสั่งสอนลูกได้มากกว่าใคร จนก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น สอนเรื่องอะไรถูก – อะไรผิด , สอนเรื่องการออมเงิน , ความเป็นผู้นำ , ความขยัน , มารยาททางสังคม เป็นต้น เมื่อสั่งสอนตั้งแต่ในวัยเด็ก เก็บสะสมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ เวลาผ่านไปเด็กประเภทนี้ ก็จะนำหน้าไปไกลแล้วเมื่อเทียบกับเด็ก ที่ไม่ได้เกิดมาในครอบครัวเอาใจใส่เท่าไหร่นัก ทักษะในการใช้ชีวิตเหล่านี้ สำคัญต่ออนาคตรวมทั้งคุณภาพของของเด็กมาก ในยามที่เขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
ภาครัฐต้องจัดการศึกษาพื้นฐานนอกระบบขั้นพื้นฐาน
เป็นการจัดการศึกษาเพื่อกลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียน ด้วยวิธีการอันเหมาะสม อีกทั้งยังต้องมีสาระหลักสูตรที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการโดยมีจุดประสงค์ คือต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ เกิดทักษะขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตในเรื่องของการทำงานและการศึกษา
ภาครัฐต้องจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ และพัฒนาทักษะชีวิต
เป็นการมอบการศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ เพิ่มทักษะเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพของแต่ล่ะบุคคลและกลุ่มบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมายในชีวิตแตกต่างกัน อีกทั้งยังต้องจัดการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ซึ่งเป็นกระบวนการเพิ่มขีดความสามารถของบุคคล เพื่อให้บุคคลนั้นจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองและสิ่งแวดล้อมได้ เพื่อให้มีความสุข รวมทั้งความปลอดภัยในสังคม
จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมไปพร้อมชุมชน
มุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาสังคมและชุมชน จัดเป็นการจัดการศึกษาซึ่งผสมผสานความรู้รวมเข้ากับทักษะ ซึ่งผู้เรียนมีอยู่แล้ว หรือได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยใช้ชุมชนเป็นรากฐานสำคัญ
จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
เป็นการให้บริหารการศึกษา ที่ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้เฉพาะในสิ่งที่ตนสนใจได้ ตามอัธยาศัย โดยบริการนี้มอบให้แก่ผู้รับบริการทุกคน ซึ่งอาจจัดตั้งในรูปแบบของ ห้องสมุดประชาชน , ศูนย์การเรียนชุมน หรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ในชุมชน